ข่าวล่าสุด :
Recent Movies

สารคดี JACK THE RIPPERสารคดี สงครามกรุงวอซอร์โปรแลนด์

สารคดี JACK THE RIPPERสารคดี สงครามกรุงวอซอร์โปรแลนด์

สารคดี สงครามเกาหลี 2


สารคดี สุดยอดเฮลิคอปเตอร์ อาปาเช่

สารคดี สุดยอดเฮลิคอปเตอร์ อาปาเช่

สารคดี สารคดี แม็กเลฟ รถไฟความเร็วสูง เซี่ยงไฮ้

สารคดี สารคดี แม็กเลฟ รถไฟความเร็วสูง เซี่ยงไฮ้ 

สารคดี MARINE MACHINES ตอน เรือรบล่องหน

เรือรบล่องหน

สารคดี ท่องโลกกว้าง ตอน มหาสมุทร

มหาสมุทร

โลกสามมิติ ตอน เวสต์ออสเตรเลีย

เวสต์ออสเตรเลีย

สารคดี ท่องเที่ยว 5/5ส่องโลกชีวิตแรด

ส่องโลกชีวิตแรด

สารคดี ท่องเที่ยว 4/5เฉินหลงตะลุยฮ่องกง

เฉินหลงตะลุยฮ่องกง

สารคดี ท่องเที่ยว 2/5


สารคดี ท่องเที่ยว 3/5ปราสาทผีสิงแห่งอังกฤษ


สารคดี ท่องเที่ยว 1/5สุดยอดสถานตากอากาศในอเมริกา





เผยแพร่เมื่อ 24 ม.ค. 2013
1.สุดยอดสถานตากอากาศในอเมริกา
2.สุดยอดรีสอร์ทแห่งแคริบเบียน
3.ออสเตรเลียแดนมหัศจรรย์
4.10 ปราสาทแห่งผู้ดีอังกฤษ
5.ปราสาทผีสิงแห่งอังกฤษ
6.แอลเอเมืองแห่งสวรรค์
7.เฉินหลงตะลุยฮ่องกง
8.ศาสตร์และศิลป์แห่งการป้องกันตัว
9.ส่องโลกชีวิตแรด

Figure of the heavenly bodies

ภาพ : Figure of the heavenly bodies ภาพแบบจำลองโลกเป็นศูนย์กลางจักรวาลขอโตเลมีโดย Bartolomeu Velho ใน ค.ศ. 1568 (Bibliotèque National, Paris)

ในทางดาราศาสตร์ แนวคิดโลกเป็นศูนย์กลางจักรวาล (Geocentric Model) คือแนวคิดเก่าแก่ที่ว่าเอกภพทั้งมวลโคจรไปรอบโลกของเราที่อยู่ตรงจุดศูนย์กลางของจักรวาล เป็นแนวคิดที่มีกำเนิดมาแต่ยุคสมัยของกรีกโบราณ โดยมีนักปราชญ์ในยุคนั้นทั้งทอเลมีและอริสโตเติลให้การสนับสนุน นักปรัชญากรีกโบราณล้วนแต่เชื่อว่า ดวงอาทิตย์ ดวงจันทร์ ตลอดจนดวงดาวต่างๆ ล้วนแต่เคลื่อนที่เป็นวงกลมไปรอบๆ โลก มีแนวคิดคล้ายๆ กันนี้ปรากฏในประเทศจีนเช่นกัน ความคิดและความเชื่อในแนวนี้ได้โยงไปถึงความเชื่อเรื่องเทพเจ้าซึ่งมีมาอย่างนานและความคิดแนวนี้ได้คร่าชีวิตนักวิทยาศาสตร์และนักปรัชญาไปอย่างมากมาย

ยุทธการบาร์บารอสซ

22 มิถุนายน....ในอดีต


22 มิถุนายน พ.ศ. 2484 (ค.ศ. 1941) 

สงครามโลกครั้งที่สอง: ทหารฝ่ายอักษะและฟินแลนด์กว่า 4.5 ล้านนาย รุกรานสหภาพโซเวียตในปฏิบัติการบาร์บารอสซา ปฏิบัติการทางทหารครั้งใหญ่ที่สุดในโลก

ยุทธการบาร์บารอสซา (Operation Barbarossa) เป็นชื่อรหัสสำหรับแผนการบุกสหภาพโซเวียตของนาซีเยอรมนี ระหว่างสงครามโลกครั้งที่สอง ปฏิบัติการดังกล่าวเริ่มต้นขึ้นในวันที่ 22 มิถุนายน ค.ศ. 1941 ชื่อปฏิบัติการบาร์บารอสซาถูกตั้งชื่อตามพระนามของจักรพรรดิฟรีดริช บาร์บารอสซา แห่งจักรวรรดิโรมันอันศักดิ์สิทธิ์ ผู้นำสงครามครูเสดครั้งที่สาม ในช่วงคริสต์ศตวรรรษที่ 12

วัตถุประสงค์ของปฏิบัติการนี้ คือ การพิชิตสหภาพโซเวียตทางภาคพื้นยุโรปทั้งหมด ซึ่งถือเอาแนวที่ลากเส้นระหว่าง อัคอังเกลส์ก (Arkangelsk) ที่อยู่ทางตอนเหนือของรัสเซีย ลงไปจนถึงเมืองอัสตราคาน (Astrakhan) ที่อยู่ริมสามเหลี่ยมปากแม่น้ำวอลกา โดยแนวนี้ถูกเรียกว่าแนว AA ปฏิบัติการบาร์บารอสซาไม่ประสบความสำเร็จอย่างที่ฮิตเลอร์คาดหวังไว้ ในทางยุทธวิธีแล้ว กองทัพเยอรมันก่อให้เกิดความเสียหายใหญ่หลวงต่อสหภาพโซเวียต โดยการยึดครองพื้นที่เศรษฐกิจสำคัญของประเทศเอาไว้ อย่างไรก็ตาม ไม่นานหลังจากปฏิบัติการบาร์บารอสซา กองทัพเยอรมันไม่อาจเป็นฝ่ายบุกในแนวรบด้านตะวันออกอีกต่อไป และหลังจากนั้น ก็ประสบความพ่ายแพ้มาตลอด

ปฏิบัติการบาร์บารอสซาเป็นปฏิบัติการทางทหารที่ยิ่งใหญ่ที่สุด ทั้งทางด้านกำลังพล พื้นที่ปฏิบัติการและความสูญเสียที่เกิดขึ้น ความล้มเหลวในยุทธการบาร์บารอสซาเป็นที่ถกเถียงกันว่าเป็นสาเหตุโดยรวมที่ทำให้นาซีเยอรมนีต้องประสบกับความพ่ายแพ้ และเป็นจุดเปลี่ยนของนาซีเยอรมนีของอดอล์ฟ ฮิตเลอร์ จากการเปิดการโจมตีของนาซีทำให้เกิดการรบใหม่ขึ้นมาคือแนวรบด้านตะวันออก ซึ่งเป็นยุทธบริเวณที่ใหญ่ที่สุดในโลกตราบจนถึงปัจจุบัน ปฏิบัติการบาร์บารอสซากลายเป็นการรบครั้งยิ่งใหญ่ ความโหดร้าย การสูญเสียชีวิตปริมาณมหาศาล ซึ่งทั้งหมดได้ส่งอิทธิพลต่อสงครามโลกครั้งที่สอง และประวัติศาสตร์ในคริสต์ศตวรรษที่ 20 ตลอดมา

วันมรณภาพของ สมเด็จพระพุฒาจารย์ (โต พรหมรังสี)

22 มิถุนายน....ในอดีต


22 มิถุนายน พ.ศ. 2415 (ค.ศ. 1872) 

วันมรณภาพของ สมเด็จพระพุฒาจารย์ (โต พรหมรังสี) 

สมเด็จพระพุฒาจารย์ (โต พฺรหฺมรํสี) หรือนามที่นิยมเรียก "สมเด็จโต" "หลวงปู่โต" หรือ "สมเด็จวัดระฆัง" เป็นพระสงฆ์มหานิกาย เป็นพระมหาเถระรูปสำคัญที่ได้รับความนิยมนับถืออย่างมากในประเทศไทย ท่านเคยดำรงตำแหน่งเจ้าอาวาสวัดระฆังโฆสิตารามวรมหาวิหารในสมัยรัชกาลที่ 4-5

สมเด็จพระพุฒาจารย์ (โต พฺรหฺมรํสี) นับเป็นพระเกจิเถราจารย์ผู้มีปฏิปทาจริยาวัตรน่าเลื่อมใส เป็นที่เคารพนับถือทั่วไปมาตั้งแต่ท่านยังมีชีวิตอยู่ ตั้งแต่พระมหากษัตริย์จนถึงสามัญชน และนอกจากจริยาวัตรด้านความสมถะอันโดดเด่นของท่านแล้ว ท่านยังทรงคุณทางด้านวิชชาคาถาอาคม เมตตามหานิยม โดยเฉพาะอย่างยิ่งวัตถุมงคล "พระสมเด็จ" ที่ท่านได้สร้างขึ้นเพื่อเป็นพุทธบูชา ได้ถูกจัดเข้าในพระเครื่องเบญจภาคี หรือสุดยอดของพระเครื่องวัตถุมงคล 1 ใน 5 ของประเทศไทย และมีราคาซื้อขายในปัจจุบันต่อองค์เป็นราคานับล้านบาท ด้วยปฏิปทาจริยาวัตรและคุณวิเศษอัศจรรย์ของท่าน ทำให้พุทธศาสนิกชนชาวไทยเคารพนับถือว่าท่านเป็นอมตะเถราจารย์รูปหนึ่งของเมืองไทย และมีผู้นับถือจำนวนมากในปัจจุบัน

จูดี การ์แลนด์ (Judy Garland)

22 มิถุนายน....ในอดีต

22 มิถุนายน พ.ศ. 2512 (ค.ศ. 1969) 

วันถึงเเก่กรรมของ จูดี การ์แลนด์ นักแสดง/นักร้อง ชาวอเมริกัน

จูดี การ์แลนด์ (Judy Garland) เป็นนักแสดงหญิงชาวอเมริกัน ในช่วงยุคทองของหนังเพลง (Golden Era of musical film) รับบทเป็นโดโรธี ในเรื่อง เดอะวิซาร์ดออฟออซ (The Wizard of Oz) (1939) และร้องเพลงประกอบหนังเรื่องนี้ ชื่อ Over the Rainbow ซึ่งทำให้เธอกลายเป็นดาราที่มีชื่อเสียงมาก นับแต่นั้นเป็นต้นมา

จูดี การ์แลนด์ เกิดที่เมือง แกรนด์แรพิดส์ ในรัฐมินนิโซตา สหรัฐอเมริกา และเสียชีวิตในเมืองเชลซี ในลอนดอน

22 มิถุนายน


22 มิถุนายน....ในอดีต

22 มิถุนายน พ.ศ. 2514 (ค.ศ. 1971)

วันสิ้นชีพิตักษัยของ หม่อมเจ้าสิทธิพร กฤดากร บิดาแห่งการเกษตรยุคใหม่

หม่อมเจ้าสิทธิพร กฤดากร พระโอรสในพระเจ้าบรมวงศ์เธอ พระองค์เจ้ากฤษดาภินิหาร กรมพระนเรศร์วรฤทธิ์ ที่ประสูติแต่ หม่อมสุภาพ กฤดากร ณ อยุธยา ทรงได้รับการยกย่องเป็น บิดาแห่งการเกษตรแผนใหม่

หม่อมเจ้าสิทธิพร เสด็จไปศึกษาต่อที่ประเทศอังกฤษตั้งแต่ทรงพระเยาว์ ทรงศึกษาวิชาวิศวกรรมศาสตร์ ที่กรุงลอนดอน เริ่มรับราชการที่กระทรวงพระคลัง เมื่อ พ.ศ. 2444 ต่อมาทรงดำรงตำแหน่งอธิบดีกรมกษาปณ์ และอธิบดีกรมฝิ่น ทรงมีหม่อมท่านหนึ่งคือ หม่อมทิพ แต่ก็ถึงแก่กรรมในเวลาไม่นาน ต่อมา รัชกาลที่ 6 ทรงขอเจ้าศรีพรหมาให้อภิเษกสมรสกับหม่อมเจ้าสิทธิพร กฤดากร มีบุตรธิดาด้วยกัน 2 คน คือ หม่อมราชวงศ์อนุพร และหม่อมราชวงศ์เพ็ญศรี

เมื่อ พ.ศ. 2464 ทรงลาออกจากราชการ เพื่อทรงประกอบอาชีพเกษตรกรรม ณ บ้านบางเบิด อำเภอบางสะพานน้อย จังหวัดประจวบคีรีขันธ์ หม่อมเจ้าสิทธิพร ได้ทรงบุกเบิกการเกษตรแผนใหม่ ณ ฟาร์มบางเบิด ทรงริเริ่มนำรถแทรกเตอร์มาใช้ในการเกษตรเป็นครั้งแรก ทรงเลี้ยงไก่พันธุ์เล็กฮอร์น สายพันธุ์ไข่ดก เป็นครั้งแรกที่บางเบิด ทรงสั่งพันธุ์แตงโมจากสหรัฐอเมริกา เพื่อปลูกจำหน่ายรู้จักกันทั่วไปในชื่อ แตงโมบางเบิด

หม่อมเจ้าสิทธิพร ทรงริเริ่มทดลองปลูกยาสูบพันธุ์เวอร์จิเนีย ซึ่งบ่มด้วยความร้อนจนเป็นผลสำเร็จ ณ สถานีทดลองเกษตรแม่โจ้ ซึ่งต่อมากลายเป็นอุตสาหกรรมที่ทำรายได้ให้แก่เกษตรกรทางภาคเหนือ

หม่อมเจ้าสิทธิพร กฤดากร ถูกกล่าวหาว่าเป็นผู้ร่วมก่อการกับ พระวรวงศ์เธอ พระองค์เจ้าบวรเดช พระเชษฐา ในกบฏบวรเดช เมื่อ พ.ศ. 2476 ถูกตัดสินลงโทษจำคุกตลอดชีวิต คุมขังที่เรือนจำบางขวาง แล้วย้ายไปคุมขังที่ทัณฑนิคม เกาะตะรุเตา ก่อนย้ายมาเกาะเต่า ก่อนจะได้รับพระราชทานอภัยโทษในปี พ.ศ. 2487

หม่อมเจ้าสิทธิพร กฤดากร ทรงดำรงตำแหน่งรัฐมนตรีว่าการกระทรวงเกษตร เมื่อปี พ.ศ. 2490 และ พ.ศ. 2491 ในรัฐบาลนายควง อภัยวงศ์ ทรงเป็นประธานคณะกรรมการข้าวระหว่างชาติ ในการประชุมเมื่อปี พ.ศ. 2492, 2493 และ 2495 ได้รับรางวัลแมกไซไซ ด้านบริการสาธารณะ เมื่อ พ.ศ. 2510

นอกจากนี้แล้ว ยังเคยเป็นนักฟุตบอลทีมชาติไทย ในตำแหน่งกองหน้า เมื่อปี พ.ศ. 2458 ซึ่งถือว่าเป็นทีมชาติไทยชุดแรกด้วย

หม่อมเจ้าสิทธิพร กฤดากร ถึงชีพิตักษัย เมื่อวันที่ 22 มิถุนายน พ.ศ. 2514

22 มิถุนายน วันนี้ในอดีต

22 มิถุนายน....ในอดีต

22 มิถุนายน พ.ศ. 2519 (ค.ศ. 1976) 

สภาผู้แทนราษฎรแห่งแคนาดาลงมติยกเลิกโทษประหารชีวิต

โทษประหารหรือการประหารชีวิต (Capital punishment or the death penalty) เป็นกระบวนการทางกฎหมายในการที่คนที่มีชีวิตอยู่จะถูกทำให้ตายโดยรัฐเพื่อเป็นการลงโทษความผิดทางอาญา โทษประหารชีวิต คือ โทษสูงสุดที่กฎหมายบัญญัติให้นักโทษที่ได้รับการพิพากษาถึงที่สุดแล้ว มีผลต้องถูกทำให้เสียชีวิตตามกระบวนการยุติธรรม โดยบุคคลที่กระทำหน้าที่นี้เรียกว่า เพชฌฆาต พระราชกฤษฎีกาการพิจารณาคดีกับคนที่ถูกลงโทษในลักษณะนี้คือ การตัดสินประหารชีวิต (death sentence), ในขณะที่กระบวนการจริงของการประหารบุคคลนั้นคือ การสำเร็จโทษ (execution) อาชญากรรมที่จะส่งผลต่อการทำให้เกิดการประหารชีวิตนักโทษเป็นที่รู้จักกันว่าเป็นอาชญากรรมเมืองหรือการกระทำความผิดเมือง คำศัพท์ capital มีต้นกำเนิดมาจากคำภาษาละตินว่าcapitalis ความหมายตามตัวอักษรคือ "ที่เกี่ยวข้องกับหัว" (หมายถึงการประหารชีวิตโดยการตัดหัว)

โทษประหารนั้น ในอดีตที่ผ่านมาได้รับประสบการณ์มาจากสังคมส่วนใหญ่ (จากข้อกล่าวอ้างที่มีชื่อเสียงแห่งจักรวรรดิเคียฟรุส (Kievan Rus)

ในอดีต จะใช้วิธีประหารชีวิตที่ส่งผลให้ประชาชนเกิดความกลัว และไม่กล้าที่จะกระทำความผิด เช่น

- การตัดศีรษะ (beheading, decapitation)
- การฝังทั้งเป็น (buried alive)
- การโยนลงไปในหลุมงู (snake pit) หรือ ประหารโดยใช้สัตว์ป่า แมลง
- การผ่าท้อง (disembowelment) ตัวอย่างเช่น ฮาราคีรี
- การเผาทั้งเป็น (burning to death)
- นอกจากนี้ ยังมีวิธีประหารชีวิตเฉพาะชาติต่างๆ เช่น
- การหักหลัง (breaking back) ในชนชาติมองโกล
- การแล่เนื้อ (slow slicing) ในจีน
- การตรึงกางเขน (crucifixion) ในโรมันโบราณ
- โทษประหารแบบ drawing and quartering ในอังกฤษ โดยสมเด็จพระเจ้าเอ็ดเวิร์ดที่ 1 แห่งอังกฤษ เป็นผู้ริเริ่ม
- โทษประหารแบบ Scaphism หรือ The Boats ในเปอร์เซีย เป็นต้น

ในปัจจุบัน โทษประหารชีวิตในหลายประเทศได้ถูกยกเลิกไป เนื่องจากเหตุผลทางมนุษยชน

แบงค์ 80 บาท


*แบงค์ 80 บาท* สวยจัง...น่ามีไว้ในครอบครอง !! ;)

*ธนบัตรที่ระลึกเฉลิมพระเกียรติสมเด็จพระนางเจ้าสิริกิติ์ พระบรมราชินีนาถ* ชนิดราคา 80 บาท มีทั้งสิ้น จำนวน 2 ล้านฉบับ ! ซึ่งถือเป็นการออกธนบัตรชนิดราคา 80 บาท เป็นครั้งแรก !! โดยจะออกใช้ในวันพฤหัสบดีที่ 9 สิงหาคม 2555 ! โดยจ่ายแลกพร้อมแผ่นพับในราคาชุดละ 120 บาท !!! ;)

ทั้งนี้ ธนบัตรที่ระลึกเฉลิมพระเกียรติสมเด็จพระนางเจ้าสิริกิติ์ มีลักษณะพิเศษ คือ ความกว้าง 80 มิลลิเมตร หมายถึงพระชนมพรรษา 80 พรรษา สีของธนบัตรโดยรวมเป็นสีฟ้าตามสีวันพระราชสมภพ ภาพด้านหน้าธนบัตร เชิญพระบรมฉายาสาทิสลักษณ์พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวรัชกาลปัจจุบันคู่กับพระฉายาสาทิสลักษณ์สมเด็จพระนางเจ้าสิริกิติ์ พระบรมราชินีนาถเป็นภาพประธาน มีลายน้ำอักษรพระนามาภิไธย "ส.ก." ภายใต้พระมหามงกุฎ โดยอักษร "ก" มีความโปร่งแสงเป็นพิเศษ มองเห็นได้ชัดเจนทั้งสองด้านเมื่อยกธนบัตรขึ้นส่องดูกับแสงสว่า

ส่วนภาพด้านหลังธนบัตร เชิญพระฉายาสาทิสลักษณ์สมเด็จพระนางเจ้าสิริกิติ์ พระบรมราชินีนาถ เป็นภาพประธาน โดยมีภาพพระราชกรณียกิจด้านต่าง ๆ เป็นภาพประกอบ ในเนื้อกระดาษฝังแถบสีฟ้าซ่อนไว้ตามด้านกว้างของธนบัตร โดยมีบางส่วนปรากฏให้เห็นเป็นระยะที่ด้านหลังธนบัตร ภายในแถบสีฟ้ามีตัวเลขอารบิก 80 ซึ่งจะเปลี่ยนเป็นรูปดอกกุหลาบเมื่อพลิกธนบัตรไปมา !!! :)

ชีวประวัติหม่อมราชวงเสนีย์ ปราโมช



ชีวประวัตินายกทวี บุณยเกตุ


ชีวประวัตินายกควง อภัยวงศ์1


ชีวประวัติจอมพลแปลก พิบูลสงคราม1



ปรีดีย์ พนมยงค์ รัฐบุรุษอาวุโส 2/3


ปรีดีย์ พนมยงค์ รัฐบุรุษอาวุโส 3/3


ปรีดีย์ พนมยงค์ รัฐบุรุษอาวุโส 1/3


สารคดีบุคคลสำคัญอาเซียน ตอน ลาววัฒนา


สารคดีบุคคลสำคัญอาเซียน ตอน ลาววัฒนา

ดร. โก๊ะเค็งซวี


“ชาวสิงคโปร์เชื่อการทำงานหนัก เชื่อในการค้าเสรี เชื่อว่าเราจะปรับตัวได้ เชื่อในการคว้าโอกาสสุดท้ายเชื่อมั่นในตัวเอง นี่คือคุณภาพประชากรที่จะช่วยเปลี่ยนเกาะเล็กๆ ที่มีแต่บึงเฉอะแฉะไปสู่เมืองหลวงที่เฟื่องฟู”

ดร. โก๊ะเค็งซวี
สุนทรพจน์ที่กล่าวในโอกาสเยือนหอการค้าจีน ปี ๒๕๑๒/๑๙๖๙

วันประกาศเอกราช๙ สิงหาคม ๒๕๐๘/๑๙๖๕
ชื่อทางการสาธารณรัฐสิงคโปร์ (Republic of Singapore)
เมืองหลวงสิงคโปร์
ระบอบการปกครองประชาธิปไตยแบบรัฐสภา
ประชากร๕,๐๗๖,๗๐๐ คน (กรกฎาคม ๒๕๕๕/๒๐๑๒, CIA World Factbook)
ภาษาราชการภาษาอังกฤษ จีนกลาง มลายู ทมิฬ

ดร. โก๊ะเค็งซวี เกิดเมื่อวันที่ ๖ ตุลาคม ๒๔๖๑/๑๙๑๘ ที่รัฐมะละกา (ภายใต้การปกครองของอังกฤษ)  ครอบครัวของเขาเป็นชาวเปอรานากัน (ลูกผสมจีน-มลายู)  เขาย้ายตามครอบครัวมาอยู่สิงคโปร์ตอนอายุได้ ๒ ขวบ เข้าเรียนชั้นมัธยมที่โรงเรียนอังกฤษ-จีน (Anglo-Chinese School) และศึกษาต่อที่วิทยาลัยแรฟเฟิลส์ (Raffles College) จนจบเมื่อปี ๒๔๘๒/๑๙๓๙ จากนั้นรับราชการเป็นเจ้าหน้าที่กรมสวัสดิการสังคมของรัฐบาลอาณานิคมสิงคโปร์
หลังสงครามโลกครั้งที่ ๒ เขากลับเข้ารับราชการตามเดิม ก่อนได้ทุนไปศึกษาต่อด้านเศรษฐศาสตร์ที่ London School of Economics (LSE) ในปี ๒๔๙๐/๑๙๔๗  ขณะอยู่ในลอนดอน เขาร่วมกับนักเรียนทุนสิงคโปร์ที่มีแนวคิดต่อต้านอาณานิคม เช่น ลีกวนยู ก่อตั้ง Malayan Forum เพื่อถกเถียงปัญหาทางการเมืองของอาณานิคม โดยเขารับเป็นประธานกลุ่มคนแรก
เขาจบจาก LSE ด้วยเกียรตินิยมอันดับ ๑ ได้รับรางวัล William Farr Prize แล้วกลับมารับราชการช่วงสั้น ๆ ก่อนได้ทุนกลับไปเรียนต่อระดับปริญญาเอกที่ LSE อีกครั้งในสาขาเดิม จนจบในปี ๒๔๙๙/๑๙๕๖
โก๊ะเริ่มเข้าสู่วงการการเมืองโดยลงสมัครรับเลือกตั้งสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรกับพรรคกิจประชา (PAP) ของลีกวนยู  เส้นทางการเมืองของเขาหลังจากนั้นคือการดำรงตำแหน่งสำคัญ เช่น รัฐมนตรีว่าการกระทรวงการคลังในปี ๒๕๐๒/๑๙๕๙ ซึ่งเขาวางนโยบายพัฒนาอุตสาหกรรมเพื่อสร้างงานในประเทศ พลิกเขตจูร่ง(Jurong) จากพื้นที่ชื้นแฉะให้กลายเป็นเขตอุตสาหกรรมขนาดใหญ่ ริเริ่มก่อตั้งคณะกรรมการ Economic Development Board (EDB) ในปี ๒๕๐๔/๑๙๖๑ เพื่อออกมาตรการดึงดูดนักลงทุน  หลังสิงคโปร์แยกตัวจากมาเลเซียเป็นเอกราชในปี ๒๕๐๘/๑๙๖๕ โก๊ะผลักดันให้สิงคโปร์เป็นศูนย์กลางทางการเงินของโลกเพื่อสร้างความเข้มแข็งให้แก่เศรษฐกิจ
อีกบทบาทหนึ่งที่สำคัญคือการเป็นรัฐมนตรีว่าการกระทรวงกลาโหมคนแรกของสิงคโปร์  ในช่วงที่ได้รับเอกราชใหม่ ๆ  โก๊ะเร่งสถาปนากองทัพสิงคโปร์ท่ามกลางความขาดแคลนทรัพยากรและกำลังคนด้วยการสร้างกลุ่มนายทหารที่จะเป็นกำลังหลักโดยมีกำลังเสริมเป็นอาสาสมัคร ๓,๐๐๐ นาย  ต่อมาในปี ๒๕๑๐/๑๙๖๗ จึงเริ่มใช้ระบบเกณฑ์ทหาร  โดยผู้ชายสิงคโปร์ทุกคนที่อายุครบ ๑๘ ปีจะต้องเข้ารับการฝึกวิชาทหาร ร้อยละ ๑๐ จะถูกคัดเลือกเข้าประจำการ  เมื่อครบกำหนดก็จะปลดประจำการและถูกทดแทนด้วยกำลังสำรองรุ่นใหม่
โก๊ะยังมีผลงานสำคัญขณะดำรงตำแหน่งรัฐมนตรีกระทรวงศึกษาธิการตั้งแต่ปี ๒๕๒๒/๑๙๗๙ โดยก่อตั้งสถาบันพัฒนาหลักสูตรการศึกษาที่เน้นให้ผู้เรียนได้เรียนตามความถนัดและความสามารถของตนเอง ซึ่งนโยบายนี้ช่วยลดจำนวนนักเรียนที่ลาออกจากโรงเรียนกลางคัน
ทั้งนี้นอกจากงานใน ๒ กระทรวงสำคัญ เขายังดำรงตำแหน่งในคณะกรรมการของรัฐบาลอีกหลายชุดและเป็นที่ปรึกษาขององค์กรเอกชนขนาดใหญ่หลายแห่ง
หลังจากตรวจพบมะเร็งในกระเพาะปัสสาวะในเดือนกันยายน ๒๕๒๖/๑๙๘๓ เขาลาออกจากทุกตำแหน่งทาง
การเมืองในเดือนธันวาคมปีต่อมา แต่ยังดำรงตำแหน่งในองค์กรเอกชน  อย่างไรก็ตามอาการที่ทรุดลงเรื่อย ๆ ทำให้เขาต้องนอนพักรักษาตัวมาตั้งแต่ปี ๒๕๔๓/๒๐๐๐ จนถึงแก่กรรมเมื่อวันที่ ๑๔ พฤษภาคม ๒๕๕๓/๒๐๑๐
โก๊ะได้รับการยกย่องเป็น “สถาปนิกเศรษฐกิจ” ของสิงคโปร์  ในปี ๒๕๑๕/๑๙๗๒ เขาได้รับรางวัลรามอน แมกไซไซ สาขาบริการรัฐกิจ ได้รับอิสริยาภรณ์ชั้นสูงสุดของสิงคโปร์คือ Order of Temasek เมื่อปี ๒๕๒๘/๑๙๘๕ ในฐานะผู้วางรากฐานการพัฒนาประเทศ กลุ่มธุรกิจและมหาวิทยาลัยแห่งชาติยังตั้งกองทุนและมอบทุนการศึกษาในชื่อของเขาเพื่อเป็นเกียรติมาจนถึงทุกวันนี้
ล่าสุดในปี ๒๕๕๑/๒๐๐๘ ปัวซวีเหลียง (Pua Swee Liang) ภรรยาของเขาก่อตั้งมูลนิธิโก๊ะเค็งซวีขึ้น เพื่อรักษาเรื่องราวและเผยแพร่แนวคิดของโก๊ะต่อสาธารณชน

ผู้เลือก :  เอ็ดการ์ เหลียว (Edgar Liao)
อาจารย์ประจำมหาวิทยาลัยแห่งชาติสิงคโปร์ วัย ๓๒ ปี
ผมเลือก โก๊ะเค็งซวี (Goh Keng Swee) ด้วยเหตุผลคือ หนึ่ง ลีกวนยู อดีตนายกรัฐมนตรีคนแรกของสิงคโปร์กล่าวสรรเสริญโก๊ะไว้ว่า นี่คือชายที่มีอิทธิพลต่อการตัดสินใจแยกสิงคโปร์จากมาเลเซียในปี ๒๕๐๘/๑๙๖๕ ประการแรกโก๊ะคิดว่าการปกครองตนเองคือทางที่ดีที่สุดในการเผชิญปัญหาที่ถาโถมเข้าใส่ มากกว่าจะคงเป็นส่วนหนึ่งของมาเลเซีย  ประการต่อมา ในรัฐบาลสิงคโปร์หลังประกาศเอกราช โก๊ะมีบทบาทสำคัญในฐานะรัฐมนตรีว่าการกระทรวงกลาโหม รัฐมนตรีว่าการกระทรวงการคลัง รัฐมนตรีว่าการกระทรวงศึกษาธิการ เป็นผู้วางรากฐานเศรษฐกิจและสังคมสิงคโปร์ในแบบที่เราเห็นอยู่ในปัจจุบัน
“นโยบายที่ส่งผลมากคือการเกณฑ์ทหาร การปฏิรูประบบการศึกษาและพัฒนาเศรษฐกิจ ระบบเกณฑ์ทหารทำให้หลากหลายเชื้อชาติมาหลอมรวมกัน เกิดความรักชาติ สร้างความมั่นคงให้เกาะเล็ก ๆ ในสายตานักลงทุนต่างประเทศ สนับสนุนให้สอน ๒ ภาษาในโรงเรียนตั้งแต่ปี ๒๕๒๒/๑๙๗๙ เปิดเขตเศรษฐกิจจูร่งในปี ๒๕๐๔/๑๙๖๑ กระทั่งบทบาททางวัฒนธรรม เขาคือผู้ก่อตั้งวงสิงคโปร์ ซิมโฟนี ออร์เคสตรา และสวนสัตว์สิงคโปร์
“ผมรู้จักโก๊ะจากหนังสือเรียนชั้นมัธยม ชื่อของเขาถูกพูดถึงบ่อยรองจาก ลีกวนยู  ผมมารู้จักเขามากขึ้นสมัยเรียนมหาวิทยาลัย ทุกวันนี้ในสิงคโปร์เราคุยเรื่องกลุ่มผู้ก่อตั้งประเทศมากขึ้น จากเดิมที่เน้นที่ ลีกวนยู คนเดียว  สมัยก่อนโก๊ะเป็นที่รู้จัก แต่ก็ไม่มากเท่าปัจจุบัน เพราะหลังเขาเสียชีวิตในปี ๒๕๕๓/๒๐๑๐ เริ่มมีบทความที่เกี่ยวข้อง มีหนังสือ ๒ เล่มตีพิมพ์ออกมาในปีเดียวกัน มีการศึกษาชีวิตโก๊ะและผู้ก่อตั้งสิงคโปร์คนอื่น ๆ  คนสิงคโปร์หลายคนดีใจที่มีเรื่องราวผู้ก่อตั้งประเทศคนอื่นนอกจาก ลีกวนยู
“สิงคโปร์เป็นประเทศอายุน้อย เราเพิ่งเขียนประวัติศาสตร์ใช้ในโรงเรียนจริงจังเมื่อปี ๒๕๔๐/๑๙๙๗  ก่อนหน้านี้เราไม่ได้ให้ความสำคัญกับประวัติศาสตร์แห่งชาติ เมื่อเขียนก็ไม่ได้เพ่งเล็งที่ผู้นำทางการเมือง แต่ยุคหลัง ๆ เมื่อมีรัฐมนตรีในยุคสร้างชาติเสียชีวิต  เรื่องของเขาจะได้รับความสนใจจากสื่อมวลชน  เอาเข้าจริงผมคิดว่าสิงคโปร์อาจไม่ต้องการบุคคลสำคัญ เพราะแต่ละคนต่างมีอยู่ในใจแล้ว”

- See more at: http://www.sarakadee.com/2013/04/09/goh-keng-swee/#sthash.DrirzYN5.dpuf

ซูการ์โน


“ในประเทศอินโดนีเซียเสรีการต่อสู้จะยังดําเนินต่อไป เพียงแต่จะแปลกไปในฐานะที่เราเป็นประชาชนที่
ร่วมกันต่อสู้เพื่อให้บรรลุหลักการที่อยู่ใน‘ปัญจสีลา’”

ซูการ์โน
ประธานาธิบดีคนแรกของอินโดนีเซีย ในสุนทรพจน์ “กำเนิดของปัญจสีลา”  ๑ มิถุนายน ๒๔๘๙/๑๙๔๖

วันประกาศเอกราช๑๗ สิงหาคม ๒๔๘๘/๑๙๔๕
ชื่อทางการสาธารณรัฐอินโดนีเซีย (Republic of Indonesia)
เมืองหลวงจาการ์ตา
ระบอบการปกครองประชาธิปไตยแบบสาธารณรัฐ
ประชากร๒๔๘,๖๔๕,๐๐๘ คน (กรกฎาคม ๒๕๕๕/๒๐๑๒, CIA World Factbook)
ภาษาราชการภาษาอินโดนีเซีย (Bahasa Indonesia)

ซูการ์โนเกิดวันที่ ๖ มิถุนายน ๒๔๔๔/๑๙๐๑ ในเกาะชวาตะวันออก  ในวัยเด็กครอบครัวสนับสนุนให้เขาเป็น “คนสำคัญ มีประโยชน์ พร้อมรับแสงอรุณ และมีอุดมการณ์” อิทธิพลทางความคิดนี้มาจาก “วาหยัง” หรือหนังตะลุงอินโดนีเซีย ที่เล่าความยิ่งใหญ่ของอาณาจักรชวาโบราณ  เขาถูกส่งไปเรียนชั้นมัธยมในโรงเรียนของชาวฮอลันดา (เนเธอร์แลนด์) ที่เมืองสุราบายา โดยมีผู้ดูแลคือ อุมาร์ ซาอิด โจโครอามิโนโต (Umar Said Cokroaminoto) แกนนำและนักกล่าวสุนทรพจน์คนสำคัญของสหพันธ์การค้าอิสลาม (Sarekat Dagang Islam) สหพันธ์นี้เกิดจากการรวมตัวกันของนักหัตถกรรมผ้าบาติก เพื่อต่อรองผลประโยชน์กับเจ้าอาณานิคมฮอลันดา ต่อมาสหพันธ์ซึ่งมีแนวคิดชาตินิยมนี้ได้มีบทบาทเคลื่อนไหวทางการเมือง ซูการ์โนจึงมีโอกาสซึมซับประสบการณ์หลายแบบ เช่น อ่านหนังสือได้หลายภาษา ติดต่อกับผู้นำฝ่ายอิสลามและสังคมนิยม จนรู้จัก “การเมือง” ตั้งแต่เด็ก  จากนั้นเขาย้ายไปเรียนต่อด้านวิศวกรรมศาสตร์และสถาปัตยกรรมศาสตร์ในสถาบันเทคนิคเมืองบันดุง  ทว่าเมื่อโจโครอามิตาโนโตถูกจับ และที่บ้านมีปัญหาการเงิน ซูการ์โนก็กลับบ้านและกลายเป็นหนึ่งในผู้ก่อตั้ง “พรรคชาตินิยมอินโดนีเซีย” ที่มีสมาชิกถึง ๑ หมื่นคนในปี ๒๔๖๙/๑๙๒๖
ปรากฏการณ์ดังกล่าวสร้างความหวาดระแวงให้แก่ฮอลันดา พรรคชาตินิยมอินโดนีเซียจึงถูกยุบ ซูการ์โนถูกจับ  เขาได้รับการปล่อยตัวในปี ๒๔๗๔/๑๙๓๑ แต่ก็ยังเคลื่อนไหวทางการเมืองจนถูกเนรเทศไปเกาะฟลอเรสและเบิงกูลูในปี ๒๔๗๖/๑๙๓๓  ต้องรอจนญี่ปุ่นบุกอินโดนีเซียในปี ๒๔๘๔/๑๙๔๑ จึงได้รับการปล่อยตัวพร้อมนักเคลื่อนไหวคนอื่น ๆ
เมื่อญี่ปุ่นตกลงทำงานร่วมกับกลุ่มนักชาตินิยมโดยชูประเด็นต่อต้านนักล่าอาณานิคมตะวันตก จึงมีการตั้งศูนย์ “ปูเตระ” (Pusat Tenaga Rakjat – Putera) องค์กรรวมนักชาตินิยมอินโดนีเซียและตั้งกองกำลัง “เปตะ” กองกำลังทหารอาสาซึ่งได้รับการฝึกแบบญี่ปุ่น  แม้ในทางปฏิบัติองค์กรเหล่านี้ถูกสร้างขึ้นเพื่อสร้างภาพลักษณ์ให้ญี่ปุ่นดูเป็นผู้ปลดปล่อย ทว่าในความเป็นจริงไม่มีบทบาทจริงจังนัก แต่ก็ทำให้ซูการ์โนกลายเป็นผู้มีบทบาทโดดเด่นในเวลานั้น
๑ มิถุนายน ๒๔๘๘/๑๙๔๕ ระหว่างที่ญี่ปุ่นพ่ายแพ้ในแนวรบทั่วเอเชีย ซูการ์โนร่าง “ปัญจสีลา” ๕ ข้อ ซึ่งทันทีที่สงครามโลกครั้งที่ ๒ ยุติ ในวันที่ ๑๗ สิงหาคมปีเดียวกัน มันถูกประกาศพร้อมกับพิธีประกาศเอกราชที่จัดขึ้นอย่างเรียบง่ายในสวนหน้าบ้านพักของซูการ์โนในกรุงจาการ์ตา  เขาอ่านคำประกาศอิสรภาพต่อหน้ากองทหารเปตะว่า “บัดนี้ชาวอินโดนีเซียขอประกาศเอกราช  ภารกิจอื่น ๆ และการส่งถ่ายอำนาจจะจัดการต่อไปโดยเร็วที่สุด”  จากนั้นฟาตมาวาตี ภรรยาของซูการ์โนจึงคลี่ผืนธงชาติที่เย็บเตรียมไว้ส่งให้ทหารชักขึ้นสู่ยอดเสา พร้อมบรรเลงเพลง “อินโดนีเซียรายา” (อินโดนีเซียอันยิ่งใหญ่) อย่างเปิดเผยเป็นครั้งแรก
สิ่งที่ตามมาคือช่วงเวลาอันยากลำบาก  ซูการ์โนเผชิญความท้าทายในการรวมประเทศ ระหว่างปี ๒๔๘๘/๑๙๔๕-๒๔๙๒/๑๙๔๙ เขาต้องเผชิญกับการกบฏของกลุ่มมุสลิมหัวรุนแรง กลุ่มคอมมิวนิสต์ เผชิญหน้าทางทหารกับฮอลันดาที่พยายามกลับมาปกครองอินโดนีเซียอีก ๒ ครั้ง ครั้งสุดท้ายเขาถูกฮอลันดาจับกุมตัวพร้อมผู้นำคนอื่น ก่อนที่แรงกดดันจากนานาชาติจะทำให้ฮอลันดายอมให้เอกราชแก่อินโดนีเซียในวันที่ ๒๗ ธันวาคม ๒๔๙๒/๑๙๔๙  อินโดนีเซียจึงฉลองวันชาติได้อย่างเต็มภาคภูมิในปี ๒๔๙๓/๑๙๕๐
ทว่าหลังการเลือกตั้งทั่วไปในปี ๒๔๙๘/๑๙๕๕ ความวุ่นวายทางการเมืองทำให้ซูการ์โนเสนอ “ระบอบประชาธิปไตยแบบชี้นำ” (Guided Democracy) ยุบสภาผู้แทนราษฎร หันมาใช้รัฐสภาที่มีตัวแทนจากหลายสาขาอาชีพ ตั้งรัฐมนตรีในฐานะตัวแทนพรรคการเมือง ยุบพรรคการเมืองหลายพรรค และเพิ่มอำนาจให้ตนเอง  ผลที่ตามมาคือบทบาทของกองทัพมีมากขึ้น
อินโดนีเซียยุคซูการ์โนดำเนินนโยบายต่างประเทศได้โดดเด่น เขาร่วมกับผู้นำอินเดีย ปากีสถาน ศรีลังกา และพม่า จัดประชุมกลุ่มประเทศเอเชียและแอฟริกาที่เพิ่งได้รับเอกราชในปี ๒๕๐๘/๑๙๖๕ ที่เมืองบันดุง เพื่อเน้นนโยบายไม่ฝักใฝ่ฝ่ายใดและถ่วงดุลอำนาจค่ายคอมมิวนิสต์และเสรีประชาธิปไตย
อำนาจของซูการ์โนลดลงเมื่อเกิดความพยายามทำรัฐประหารในวันที่ ๓๐ กันยายน ๒๕๐๘/๑๙๖๕ ที่เรียกกันติดปากว่า “เกสตาปู” แต่ล้มเหลวเพราะนายพลซูฮาร์โตผู้นำกองกำลังยุทธการสามารถปราบปรามได้  เหตุการณ์นี้ส่งผลให้ซูฮาร์โตมีบทบาทโดดเด่นขึ้นและค่อย ๆ ขึ้นสู่อำนาจ  ในที่สุดซูการ์โนก็ถูกบีบให้ลาออกในปี ๒๕๑๑/๑๙๖๘ ทำให้อินโดนีเซียก้าวเข้าสู่ยุค “ระเบียบใหม่” (Order Baru) ที่มีนายพลซูฮาร์โตและกองทัพเป็นผู้นำ
ซูการ์โนอำลาโลกนี้ไปในวันที่ ๒๑ มิถุนายน ๒๕๑๓/๑๙๗๐ เมื่ออายุได้ ๖๙ ปี

ผู้เลือก :  อัลฟอไรนัส เกรกอเรียส ปอนตัส (Alforinus Gregorius Pontus) 
บาทหลวงชาวอินโดนีเซีย วัย ๕๐ ปี

ในอินโดนีเซียเรื่องของซูการ์โนเล่าต่อกันมาในลักษณะประวัติศาสตร์บอกเล่า  คนเฒ่าคนแก่จำนวนมากยังจำเรื่องของเขาได้  เมื่อเราได้ยินชื่อซูการ์โนเรารู้สึกมีกำลังใจ  ผมรับรู้เรื่องของเขาครั้งแรกตอนอายุ ๗ ขวบ  ตอนนั้นเป็นยุคประธานาธิบดีซูฮาร์โตแล้ว  แม้ภายใต้การปกครองที่มีลักษณะเผด็จการห้ามสอนเรื่องพวกนี้ แต่หลายคนก็ยังกล้าพูดถึงซูการ์โน  ปัจจุบันยังมีกลุ่มของ เมกาวาตี ซูการ์โนบุตรี บุตรสาวของซูการ์โนที่พยายามทำให้เรื่องของเขาเป็นที่รับรู้อีกครั้ง  อย่างไรก็ตามหลักปัญจสีลาคือเรื่องที่เด็ก ๆ ต้องเรียน
“อินโดนีเซียยังต้องการสิ่งที่เรียกว่าวีรบุรุษ บุคคลสำคัญ  เราต้องการผู้ที่เป็นแรงบันดาลใจและความเป็นน้ำหนึ่งใจเดียวกัน  จริง ๆ เรายังมีวีรบุรุษระดับท้องถิ่นอีกเป็นจำนวนมาก และทางการจะประกาศชื่อวีรบุรุษและวีรสตรีของชาติเพิ่มขึ้นเป็นระยะ  แน่นอน ซูการ์โนมีข้อผิดพลาด เขามีอำนาจมากเกินไป เมื่อครองอำนาจนานก็กลายเป็นเผด็จการ  แต่สำหรับคนอินโดนีเซียเขายังได้รับความนับถือในฐานะบิดาแห่งเอกราชและวีรบุรุษซึ่งต่างจากซูฮาร์โตที่ไม่ได้รับเกียรตินี้แม้จะครองอำนาจยาวนานเช่นกัน
“ปัจจุบันคนอินโดนีเซียไม่ได้ตื่นตัวกับกระแสอาเซียนมากนัก คนที่พูดเรื่องนี้บ่อยที่สุดคือรัฐบาลอินโดนีเซียที่บอกว่าต้องเตรียมตัวอย่างไร  คนที่อยู่ห่างกรุงจาการ์ตาก็ไม่ค่อยสนใจเรื่องนี้  พูดง่าย ๆ รัฐบาลเริ่มประชาสัมพันธ์แต่คนจำนวนมากก็ยังยุ่งกับชีวิตความเป็นอยู่ของตัวเองมากกว่า”
- See more at: http://www.sarakadee.com/2013/04/10/sukarno/#sthash.wRwDEfFt.dpuf

เหงวียน จ๋าย


“แม้ว่าจะมีช่วงเวลาที่เข้มแข็งและอ่อนแอแต่ไม่มีครั้งใดที่เราจะขาดวีรบุรุษ”

เหงวียน จ๋าย
Bình Ngô Đại Cáo  (คำประกาศชัยชนะเหนือกองทัพราชวงศ์หมิง)

วันประกาศเอกราช๒ กันยายน ๒๔๘๘/๑๙๔๕
ชื่อทางการสาธารณรัฐสังคมนิยมเวียดนาม (Socialist Republic of Vietnam)
เมืองหลวงฮานอย
ระบอบการปกครองคอมมิวนิสต์
ประชากร๙๐,๓๘๘,๐๐๐ คน (กรกฎาคม ๒๕๕๕/๒๐๑๒, CIA World Factbook)
ภาษาราชการภาษาเวียด

เกิดที่หมู่บ้านจีหง่าย (Chi Ngại) ปัจจุบันอยู่ในจังหวัดหายเซือง (Hải Dương) บิดาเป็นปราชญ์ขงจื๊อฐานะยากจน มารดาเป็นบุตรสาวของขุนนางราชสำนักโห่ (Hô) เหงวียน จ๋าย สอบเข้ารับราชการในราชสำนักโห่ในปี ๑๙๔๓/๑๔๐๐ ทว่าหลังจากนั้นในปี ๑๙๕๐/๑๔๐๗ กองทัพจีนราชวงศ์หมิงก็ยกทัพมาโจมตีราชวงศ์โห่ จนได้ชัยชนะและกวาดต้อนผู้คนไปเป็นจำนวนมาก หนึ่งในนั้นคือบิดาของเขาโดยหลักฐานเวียดนามบางชิ้นระบุว่า เหงวียน จ๋าย หนีการจับกุมได้ แต่หลักฐานบางชิ้นก็ระบุว่าบิดาขอร้องให้เขาอยู่ในเวียดนามเพื่อหาทางกู้อิสรภาพ
ท่ามกลางความวุ่นวาย เหงวียน จ๋าย สืบหาความเคลื่อนไหวของกองกำลังอิสระต่าง ๆ จนพบว่าที่ภูเขาลามเซิน (Lam Sơn) ขบวนการลามเซิน นำโดย เล เหล่ย มีเจตจำนงแน่วแน่ที่จะรวบรวมผู้กล้าตอบโต้กองทัพหมิง  เขาจึงร่วมกับ เล เหล่ย  โดย เล เหล่ย นับถือ เหงวียน จ๋าย เป็นสหายร่วมรบ
เหงวียน จ๋าย มอบตำราพิชัยสงคราม บิ่ง โง (Bình Ngô) ที่เขาเขียนขึ้น ๓ เล่มใหญ่ให้ เล เหล่ย ใช้ต่อสู้กับกองทัพหมิง หลังจากนั้นขบวนการลามเซินก็ได้ชัยชนะในหลายสนามรบด้วยยุทธวิธีที่หลากหลาย โดยเฉพาะการทำสงครามกองโจรตัดเสบียงอาหารกองทัพหมิง ภายใต้คำขวัญปลุกใจว่า “เก็บแต่น้อย ตีให้หนัก เปลี่ยนความอ่อนแอเป็นความเข้มแข็งและชัยชนะ ใช้ความรักในเพื่อนมนุษย์สู้กับความอำมหิต”
นอกจากวางแผนยุทธศาสตร์ เหงวียน จ๋าย ยังเขียนแถลงการณ์และจดหมายติดต่อกับกองทัพราชวงศ์หมิงให้ เลเหล่ย  ในที่สุดก็ขับไล่กองทัพหมิงได้สำเร็จในปี ๑๙๗๑/๑๔๒๘  เมื่อ เล เหล่ย ปราบดาภิเษกเป็นปฐมกษัตริย์ราชวงศ์เล  เหงวียน จ๋าย ได้รับพระราชโองการให้เขียน “คำประกาศชัยชนะเหนือกองทัพราชวงศ์หมิง” บิ่ง โง ได่ ก๊าว (Bình Ngô Đại Cáo – Great Proclamation upon the Pacification of the Wu)* ซึ่งสื่อถึงการกำชัยชนะเหนือ จูหยวนจาง จักรพรรดิจีนแห่งราชวงศ์หมิงโดยตรง
ช่วงต้นรัชกาลจักรพรรดิเล เหล่ย  เหงวียน จ๋าย เป็นเสนาบดีคนสำคัญ ได้รับพระราชทานชุดขุนนางและป้ายจารึกนาม เล จ๋าย (Lê Trãi) มีบทบาทในการวางระบบบริหารราชการแผ่นดิน  เขานำระบบราชสำนักจีนมาปรับใช้ เช่น ปรับปรุงการสอบจอหงวนเพื่อเปิดรับผู้มีความสามารถสอบเข้ารับราชการโดยไม่จำกัดชนชั้น
ช่วงปลายรัชสมัยจักรพรรดิเล เหล่ย ทรงฟังขุนนางกังฉิน ลงโทษขุนนางผู้มีความดีความชอบ  เหงวียน จ๋าย ก็ตกอยู่ในฐานะผู้ต้องสงสัย ในที่สุดเขาถูกจำคุก ๓ เดือน เมื่อพ้นโทษออกมารับราชการอีกครั้งก็ไม่ได้รับความไว้วางใจอีกต่อไป  เมื่อ เล เหล่ย สิ้นพระชนม์ เล ซ้าด (Lê Sát) ผู้สำเร็จราชการแทนพระองค์ของพระโอรส เล ท้าย ทง (Lê Thái Tông) ที่ยังทรงพระเยาว์ก็บริหารบ้านเมืองแทน และกลั่นแกล้ง เหงวียน จ๋าย จนต้องลาออกจากราชการไปอาศัยอย่างสงบที่เขาจี้หลินทางเหนือของเมืองฮานอย  ที่นั่นเขาใช้เวลาแต่งบทกวีและสนทนากับนักปราชญ์
ปี ๑๙๘๕/๑๔๔๒ เมื่อยุวกษัตริย์เสด็จฯ มาพบ เหงวียน ถิ โหละ (Nguyễn Thị Lộ) ภรรยาของ เหงวียน จ๋าย ปรากฏว่าเมื่อเสด็จฯ กลับก็ทรงพระประชวรและสิ้นพระชนม์ลงอย่างรวดเร็ว ทำให้เขาและภรรยาถูกตั้งข้อหาปลงพระชนม์และได้รับโทษประหารชีวิต  อย่างไรก็ตาม ๒๐ ปีต่อมา เมื่อความจริงปรากฏ เล แท้ง ตง (Lê Thánh Tông) จักรพรรดิรัชกาลต่อมาก็ทรงขอขมา เหงวียน จ๋าย อย่างเป็นทางการ โดยระบุว่าเขาเป็นผู้บริสุทธิ์
เหงวียน จ๋าย ได้รับยกย่องเป็นบุคคลสำคัญทางวัฒนธรรมในฐานะที่เป็นผู้วางระบบการศึกษาและวัฒนธรรมของเวียดนามจากองค์การการศึกษา วิทยาศาสตร์ และวัฒนธรรมแห่งสหประชาชาติ (UNESCO) ในปี ๒๕๒๓/๑๙๘๐ โดยมีการจัดงานฉลองครบรอบ ๖๐๐ ปีชาตกาล ของ เหงวียน จ๋าย ทั่วประเทศเวียดนาม
ทุกวันนี้บนเขาจี้หลินยังมีศาลเจ้า เหงวียน จ๋าย อยู่บนยอดเขา  ที่พักของเขาได้รับการบูรณะขึ้นเป็นสถานที่ท่องเที่ยว โดยใกล้ ๆ มีวัดอายุเก่าแก่นับร้อยปีตั้งอยู่
* ในตำราเรียนประวัติศาสตร์เวียดนามระดับมัธยมศึกษา กำหนดให้นักเรียนเรียนคำประกาศเอกราช ๓ ฉบับ  “บิ่ง โง ได่ ก๊าว” มีฐานะเป็นคำประกาศเอกราชครั้งที่ ๒  (คำประกาศเอกราชครั้งแรกคือ “นาม ก๊วก เซิน ห่า” (Nam Quốc Sơn Hà) ส่วนคำประกาศเอกราชครั้งที่ ๓ คือคำประกาศเอกราชของประธานาธิบดีโฮจิมินห์)

ผู้เลือก : หวู ดึ๊ก เลียม (VŨ Đức Liêm)
อาจารย์ประจำภาควิชาประวัติศาสตร์ มหาวิทยาลัยการศึกษาแห่งชาติฮานอย (Hanoi National University of Education) วัย ๒๗ ป
ผมเลือก เหงวียน จ๋าย เพราะเขาคือผู้เปลี่ยนแปลงวัฒนธรรมเวียดนาม ผมไม่เลือกโฮจิมินห์ เพราะที่ผ่านมาคนที่ศึกษาประวัติศาสตร์มักเป็นคนพรรคคอมมิวนิสต์และกองทัพที่สนใจแต่ประวัติศาสตร์ต่อต้านเจ้าอาณานิคม ทุกวันนี้คนรุ่นใหม่ที่ศึกษาประวัติศาสตร์คิดถึงประวัติศาสตร์เวียดนามที่มากกว่ายุคคริสต์ศตวรรษที่ ๒๐ ซึ่งเต็มไปด้วยสงครามและเป็นภาพจำของผู้คนส่วนใหญ่เมื่อคิดถึงประเทศนี้ แน่นอน ลุงโฮเป็นคนสำคัญ เป็นวีรบุรุษแห่งชาติเสมอสำหรับเวียดนาม แต่เรากำลังพยายามคิดถึงผู้ที่มีอิทธิพลทางวัฒนธรรมด้วย
“ในคริสต์ศตวรรษที่ ๑๕ เหงวียน จ๋าย นำวัฒนธรรมจีนมาใช้ในราชสำนักเล เปลี่ยนจากเดิมที่มีลักษณะพุทธให้มีลักษณะ ‘โอรสสวรรค์’ แบบฮ่องเต้จีนมากขึ้น ผลงานของเขาที่ส่งผลกระทบมากที่สุดคือ “บิ่ง โง ได่ ก๊าว” คำประกาศเอกราชที่บ่งบอกอุดมคติเวียดนาม และตอนนี้ได้กลายเป็นอุดมการณ์ของพรรคคอมมิวนิสต์เวียดนาม อาจนึกไม่ออกว่าเกี่ยวกันอย่างไร ขออธิบายว่าแนวคิด เช่น ‘กษัตริย์ที่ดี ราชสำนักที่ต้องรับใช้ราษฎร’ สิ่งเหล่านี้ถูกพัฒนา กลายเป็นความคาดหวังที่คนเวียดนามมีต่อผู้ปกครอง ราชวงศ์อยู่ได้หรือไม่ก็ขึ้นกับว่าพวกเขาดูแลราษฎรหรือไม่ พอถึงยุคต่อสู้กับเจ้าอาณานิคม โฮจิมินห์ก็นำมาปรับใช้…ใช่ครับ อุดมการณ์ของลุงโฮส่วนหนึ่งมีฐานจากอุดมการณ์มาร์กซ์-เลนิน แต่อีกส่วนก็มีพัฒนาการจากในเวียดนามเอง
“คนเวียดนามปัจจุบันรู้จัก เหงวียน จ๋าย แต่ปัญหาคือจำนวนมากรู้แค่เขาเป็นคนวางยุทธศาสตร์ต่อต้านกองทัพราชวงศ์หมิงที่พยายามยึดครองเวียดนามในอดีต แต่ไม่รู้ถึงผลกระทบทางวัฒนธรรมและสังคมที่เขาสร้างขึ้น ซึ่งผมอยากเน้นจุดนี้ เช่นเดียวกับประวัติศาสตร์อาเซียน ถ้าเราคิดถึงความสัมพันธ์ไทย-กัมพูชา เราจะพบว่าในยุคก่อนคริสต์ศตวรรษที่ ๑๘ และ ๑๙ มีการส่งผ่านแลกเปลี่ยนภาษาและวัฒนธรรมกันอย่างแพร่หลาย เราจะพบว่าคนยุคโบราณนั้นมีความเข้าใจซึ่งกันและกันมากกว่าคนรุ่นปัจจุบัน และเรื่องนี้สำคัญมากกับอาเซียน
“ถ้าเราจะค้นหาบุคคลสำคัญที่เป็นตัวแทนอาเซียนสักคน ในระยะสั้นคงยากเพราะแต่ละประเทศมีค่านิยมพื้นฐานแตกต่างกัน แต่ถ้าเรามองให้ไกลออกไป อาจนึกถึงนักคิด และตั้งเงื่อนไขที่ต่างออกไป ผมคิดว่าเขาต้องมีมุมมองระดับภูมิภาค สร้างความเปลี่ยนแปลง ก่อให้เกิดการพัฒนาอย่างกว้างขวาง และทำให้ประชาชนในภูมิภาคเข้าอกเข้าใจกัน พูดตามตรง ผมนึกถึงคนอย่างประธานาธิบดีซูการ์โนของอินโดนีเซีย รัฐบุรุษอาวุโส ปรีดี พนมยงค์ ของไทย ประธานาธิบดีโฮจิมินห์ของเวียดนาม นายพลอองซานของพม่า คนเหล่านี้มีภูมิหลังแตกต่างกัน มีอุดมการณ์ทางการเมืองแตกต่างกัน แต่พวกเขาเป็นเพื่อนกัน และครั้งหนึ่งอาเซียนเกือบจะเกิดขึ้นได้เพราะรัฐบุรุษเหล่านี้ และพวกเขามีมาตรฐานร่วมกันคือต้องการเปลี่ยนแปลงสังคมให้ดีขึ้น และทำเพื่อมหาชน
“ทุกสังคมต้องการวีรบุรุษ แต่เราสร้างวีรบุรุษขึ้นมาไม่ได้ วีรบุรุษต้องได้รับการยอมรับจากประชาชน ไม่ใช่ทางการ จะมีสักกี่คนที่บทบาทของเขากระทบกับคนจำนวนมาก กล้าทำในสิ่งที่แตกต่าง สร้างความเปลี่ยนแปลงเพื่อยังประโยชน์กับคนหมู่มาก คนเหล่านี้ทำให้เราตระหนักถึงคุณค่าบางอย่างและทำสิ่งต่าง ๆ ที่ทำให้สังคมขับเคลื่อนไปข้างหน้า”
- See more at: http://www.sarakadee.com/2013/03/26/nguyen-trai/#sthash.yRYjSoeA.dpuf

เวลา ดีไซน์ สิ่งประดิษฐ์ – ชุดว่ายน้ำ


ในอดีตยังไม่มีชุดว่ายน้ำเป็นทางการ ผู้คนบ้างเปลือยกายหรือนุ่งชุดชั้นในเล่นน้ำตามแต่วัฒนธรรมของชนชาตินั้น ๆ จวบจนศตวรรษที่ ๑๘ เมื่อการคมนาคมในสหราชอาณาจักรสะดวกขึ้น และตามชายทะเลมีบริการรถอาบน้ำ  กิจกรรมพักผ่อนเล่นน้ำที่แพร่หลายขึ้นทำให้เกิดการพัฒนาชุดว่ายน้ำตามมา
๒๓๙๓ ชุดอาบน้ำผู้หญิงสมัยวิกตอเรียน
ยุคซึ่งเคร่งครัดด้านศีลธรรม การแต่งกายของผู้หญิงจึงปกปิดเรือนร่างทั้งหมดด้วยเสื้อขนสัตว์แขนยาว กระโปรงสุ่ม ๒ ชั้น รวมถึงสวมหมวกและรองเท้า ไม่ต่างจากชุดประจำวันเพียงแต่ลดชั้นของผ้าที่สวมให้น้อยลง
๒๔๑๓ ชุดอาบน้ำผู้ชายสมัยวิกตอเรียน
พ.ศ. ๒๔๐๓ ในสหราชอาณาจักรเริ่มห้ามผู้ชายเปลือยกายว่ายน้ำ ราว ๑๐ ปีต่อมาชุดอาบน้ำของผู้ชายจึงถูกผลิตขึ้น มีลักษณะคล้ายชุดชั้นในสมัยนั้น คือเสื้อแขนสั้นและกางเกงขาสั้นลายทางแถบขาว-แดง
๒๔๔๘ ชุด silhouette
สตรีในแถบยุโรปและสหรัฐอเมริกาเริ่มสวมเสื้อผ้าเล่นน้ำน้อยชิ้นลง นิยมเสื้อขนสัตว์และผ้าไหม มีทั้งแขนสั้นและแขนกุด มีคอเสื้อแบบชุดกะลาสี สวมหมวกกับกระโปรงเรียบสั้นเลยเข่า พร้อมสวมถุงน่องและรองเท้า
๒๔๕๐ ชุด maillot หรือวันพีซ
แอนเนตต์ เคลเลอร์แมน (Annette Kellerman) นักกีฬาว่ายน้ำชาวออสเตรเลียถูกจับข้อหาอนาจารในรัฐแมสซาชูเซตส์ เนื่องจากว่ายน้ำด้วยชุดที่ตัดเย็บด้วยผ้าชิ้นเดียวแบบแขนกุดขาสั้นต่างจากคนในยุคนั้น ต่อมาฝรั่งเศสได้ตัดเย็บชุดลักษณะดังกล่าวออกขาย
๒๔๖๓ ชุดว่ายน้ำ (swimming suit)
เดิมทีชุดเล่นน้ำต่างๆ ถูกเรียกว่า ชุดอาบน้ำ (bathing suit) จน Jantzen บริษัทผลิตชุดว่ายน้ำ
ในสหรัฐอเมริกาเริ่มประชาสัมพันธ์ด้วยคำว่าชุดว่ายน้ำ (swimsuit) และเปลี่ยนสัญลักษณ์บริษัทเป็นรูปหญิงสาวกระโดดน้ำ คำนี้จึงถูกใช้แพร่หลายแทนที่
๒๔๗๖ ชุด topper และกางเกงว่ายน้ำ (trunks)
บริษัท BVD จ้าง จอห์นนี ไวส์มูลเลอร์ (Johnny Weissmuller) นักกีฬาว่ายน้ำชื่อดังชาวอเมริกันโฆษณาชุดว่ายน้ำเสื้อกล้ามคอกว้าง-กางเกงขาสั้นที่เรียกว่า topper จนได้รับความนิยม สี่ปีต่อมาผู้ชายก็นิยมสวมเพียงกางเกงว่ายน้ำโดยไม่ปิดส่วนบนของร่างกาย
๒๔๘๙ ชุดบิกินี (bikini)
ลูย เรอาร์ (Louis Réard) วิศวกรชาวฝรั่งเศสตัดเย็บชุดว่ายน้ำสตรีเป็นผ้าเล็กๆ ๒ ชิ้น ปิดหน้าอก เผยแผ่นหลังและสะโพกบางส่วน เดิมไม่มีคนกล้าสวมใส่นอกจากนางแบบที่จ้างมา ก่อนจะได้รับความนิยมในอีกหลายสิบปีต่อมา
๒๔๙๙ ชุด swim briefs
Speedo บริษัทผลิตชุดกีฬาของออสเตรเลียออกแบบชุดว่ายน้ำชายในลักษณะกางเกงชั้นในแบบสั้นจากผ้าไนลอน สำหรับโอลิมปิกเกมส์ ๑๙๕๖ เพื่อลดแรงต้านของน้ำขณะว่ายน้ำ ต่อมาใช้แพร่หลายในกีฬาทางน้ำทั่วไป
๒๕๔๖ ชุดเบอร์กินี (burqini)
อาเฮดา ซาเนตติ (Aheda Zanetti) ผู้ผลิตชุดกีฬาชาวเลบานอน -ออสเตรเลียออกแบบชุดว่ายน้ำสำหรับสตรีมุสลิมจากใยโพลีเอสเตอร์ โดยประยุกต์มาจากบุรกา ผ้าคลุมตั้งแต่หัวจดเท้า ปิดทั้งตัวยกเว้นใบหน้า มือ และข้อเท้า
๒๕๕๑ LZR Racer ชุดว่ายน้ำไฮเทค
Speedo ผลิตชุดว่ายน้ำแบบปิดทั้งตัวจากใยไนลอน สแปนเด็กซ์ และโพลียูรีเทน จนมีน้ำหนักเบา ไม่อมน้ำ
โครงชุดช่วยพยุงกล้ามเนื้อทำให้ว่ายได้เร็วและนานขึ้นจนชุดประเภทนี้ถูกห้ามใช้ในการแข่งขันกีฬาหลายรายการ
- See more at: http://www.sarakadee.com/2013/06/14/swimsuit/#sthash.TBaR9khT.dpuf
 
Support : Creating Website | Johny Template | Mas Template
Copyright © 2011. สารคดีออนไลน์ สารคดีย้อนหลัง - All Rights Reserved
Template Created by Creating Website Published by Mas Template
Proudly powered by Blogger